เมื่อเราเเก่ตัวลง 2

เมื่อเราเเก่ตัวลง 2

เมื่อเราแก่ตัวลง 2

เนิสซิ่งโฮมในประเทศญี่ปุ่น  ( Nursing Home )

ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราประชากรผู้สูงอายุมากเป็นอันดับต้นๆของโลก ขณะที่อัตราการเกิดกลับส่วนทางกัน  หลายปีก่อนผู้เขียนได้มีโอกาสติดตามสมาคมผู้ประกอบการเนิสซิ่งโฮมของไทย ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น พบว่า เนิสซิ่งโฮมในประเทศญี่ปุ่น ดำเนินกิจการ โดยทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

 เนิสซิ่งโฮมที่ดำเนินการโดยภาครัฐ   มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า  แต่ก็มีคิวยาวมาก กว่าจะได้เข้าพัก โดยสถานที่แบ่งออกเป็นห้องพักรวม หรือห้องแยก 3 เตียง 2 เตียง หรือ ห้องพักคนเดียว  รวมทั้งแยกตึกระหว่างผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้ ผู้สูงอายุอัลไซเมอร์  ผู้สูงอายุที่ป่วย และป่วยติดเตียง  ซึ่งค่าบริการรายเดือนก็แตกต่างกันออกไป  โดยผู้ประสงค์จะเข้าพักต้องวางเงินก้อนใหญ่จำนวนหนึ่ง ( คิดเป็นเงินไทย หลักหลายล้าน ) เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ว่าสนใจจอง  จ่ายรายเดือน และรอคิวอยู่ที่บ้านจนกว่าเตียงจะว่างลง

เมื่อเราเเก่ตัวลง 2

ผู้สูงอายุที่อยู่บ้านลำพัง ระหว่างรอการต่อคิว  เนิสซิ่งโฮมจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ ( สังเกตดูจากผังรูปเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ) พวกเราจึงมีคำถาม ทำไมจึงเน้น เจ้าหน้าที่ผู้ชาย คำตอบที่ได้คือ บางบ้าน อาจต้องแบกผู้สูงอายุไปอาบน้ำ  โดย เจ้าหน้าที่ไปที่บ้านสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อไปซักผ้า อาบน้ำให้ ทำความสะอาดบ้าน ทำกับข้าว หรือพาออกไปข้างนอก    

 ( หากท่านไปได้ )  โดยผู้สูงอายุจะถูกฝึก หรือได้รับการบอกเล่าว่า หากเกิดอุบัติเหตุล้มที่บ้าน จะต้องไม่ขยับตัวใดๆ หากอยู่ใกล้โทรศัพท์ ให้โทรเรียกเพื่อขอความช่วยเหลือ หากไม่สามารถโทรขอความช่วยเหลือได้ ให้อยู่นิ่งๆ เพราะอย่างไรเจ้าหน้าที่เนิสซิ่งโฮมก็ไปเยี่ยม สัปดาห์ละ 1 ครั้งอยู่แล้ว  บางท่านรอได้ก็รออยู่ในท่านั้น บางท่านรอไม่ได้ ก็จากไปอย่างโดดเดี่ยว  ค่าปลงศพต่างๆก็ใช้เงินค่าแลกเข้าดำเนิการ

เมื่อเราเเก่ตัวลง 2

เนิสซิ่งโฮมที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก ตึกอาคารสถานที่ดูสวยกว่า มีค่าแรกเข้าราคาหลักล้าน ซึ่งเงินค่าแรกเข้านี้จะคงอยู่กับบริษัทฯ  มีรายเดือนที่ต้องจ่ายเพิ่มเติม  มีตารางกิจกรรมต่างๆ หากต้องการทำกิจกรรมไหน ก็เข้าไปจองคิวทำกิจกรรมนั้นๆ เช่น การจัดดอกไม้ เล่มเกมส์ ทำอาหาร  หรือหากท่านไม่ต้องการจะร่วมกิจกรรมใดๆเลยก็ทำได้ แต่ทั้งนี้ค่ากิจกรรมต่างๆก็รวมอยู่ในรายเดือนแล้ว  นอกจากนี้ทางบริษัทฯจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราว่าท่านมีญาติ ลูกหลาน เข้ามาเยี่ยมบ้างหรือไม่ กรณีไม่มีลูกหลานเลย ต้องทำพินัยกรรม คำขอสุดท้ายไว้ กรณีมีลูกหลาน แต่ขาดการติดต่อ ทางบริษัทฯก็จะพยายามหากิจกรรมให้ลูกหลานได้แวะมาเยี่ยมบ่อยๆเพื่อมั่นใจว่าลูกหลานจะไม่ขาดการติดต่อกันไปเลย